วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แผนการจัดการเรียนรู้




มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

                มาตรฐานการเรียนรู้
                มาตรฐาน ส 2.2   เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน ยึดมั่น ศรัทธา  และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                ตัวชี้วัด
                มฐ. ส  2.2  ป.4/1  อธิบายอำนาจอธิปไตยและความสำคัญของประชาธิปไตย
                มฐ. ส  2.2  ป.4/2  อธิบายบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง   
                มฐ. ส 2.2 ป.4/3  อธิบายความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามระบอบ
                                         ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สาระสำคัญ

                การเมืองการปกครองของไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแบ่งอำนาจการปกครองออกเป็น  3  ฝ่าย  คือ  อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร  และอำนาจตุลาการ
สาระการเรียนรู้

ความรู้
                1.  ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์
                2.  อำนาจอธิปไตยของไทย
                3.  บทบาทหน้าที่ของพลเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
                ทักษะ/กระบวนการ/กระบวนการคิด
                การจำแนก  การให้เหตุผล  การประเมินค่า  การจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์
                รักชาติ  ศาสน์  กษัตริย์  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน
            ชิ้นงานหรือภาระงาน (หลักฐาน ร่องรอยแสดงความรู้)

                1.  ใบงานที่  21  สถาบันพระมหากษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตย
                2.  ใบงานที่  22  อำนาจอธิปไตย
                3.  ใบงานที่  23  บทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง

การประเมินผล


ใบงานที่  21  สถาบันพระมหากษัตริย์ตามระบอบประชาธิปไตย

เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10  คะแนน)
3
(9  คะแนน)
2
(7-8  คะแนน)
1
(5-6  คะแนน)
หาภาพและเขียนอธิบายเพื่อสรุปเกี่ยวกับพระราช-กรณียกิจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน
หาภาพและเขียนอธิบายเพื่อสรุปเกี่ยวกับพระราช-กรณียกิจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดและแตกต่างจากที่ครูยกตัวอย่าง  มีการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น
หาภาพและเขียนอธิบายเพื่อสรุปเกี่ยวกับพระราช-กรณียกิจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดและแตกต่างจากที่ครูยกตัวอย่าง
แต่เชื่อมโยงให้สัมพันธ์กับตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล
หาภาพและเขียนอธิบายเพื่อสรุปเกี่ยวกับพระราช-กรณียกิจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน ได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนด
ตามที่ครูยกตัวอย่าง และมีการเขียนอธิบายให้เข้าใจง่าย
หาภาพและเขียนอธิบายเพื่อสรุปเกี่ยวกับพระราช-กรณียกิจของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันได้สัมพันธ์กับหัวข้อที่กำหนดตามที่ครูยกตัวอย่าง แต่เขียนอธิบายไม่สอดคล้องกับข้อมูล

ใบงานที่   22  อำนาจอธิปไตย
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10  คะแนน)
3
(9  คะแนน)
2
(7-8  คะแนน)
1
(5-6  คะแนน)
 เขียนอธิบายหรือสรุปความสำคัญของอำนาจอธิปไตย การปกครองในระบอบ-
 ประชาธิปไตย
เขียนอธิบายหรือสรุปความสำคัญของอำนาจอธิปไตย การปกครองในระบอบ-ประชาธิปไตยได้สัมพันธ์กัน
มีการเชื่อมโยงให้เห็นเป็นภาพรวมแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น
เขียนอธิบายหรือสรุปความสำคัญของอำนาจอธิปไตย การปกครองในระบอบ-ประชาธิปไตยได้ 
มีการจำแนกข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล
เขียนอธิบายหรือสรุปความสำคัญของอำนาจอธิปไตย การปกครองในระบอบ-ประชาธิปไตยได้สอดคล้องกับข้อมูลมีการเขียนยกตัวอย่างอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย
เขียนอธิบายหรือสรุปความสำคัญของอำนาจอธิปไตย การปกครองในระบอบ-ประชาธิปไตยได้  แต่ยังไม่สอดคล้องกับข้อมูล  และไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม

ใบงานที่  23  บทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคะแนน
4
(10  คะแนน)
3
(9  คะแนน)
2
(7-8  คะแนน)
1
(5-6  คะแนน)
เขียนอธิบายหรือสรุปบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการ-
เลือกตั้ง

เขียนอธิบายหรือสรุปบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวน
การเลือกตั้ง
ได้สัมพันธ์กัน
มีการเชื่อมโยง
ให้เห็นภาพรวมถึงความสัมพันธ์กับตนเองและผู้อื่น

เขียนอธิบายหรือสรุปบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวน
การเลือกตั้งได้
มีการจำแนกข้อมูลหรืออธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับตนเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล
เขียนอธิบายหรือสรุปบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง ได้สอดคล้อง
กับข้อมูล มีการเขียน
ขยายความและยกตัวอย่างเพิ่มเติมให้เข้าใจง่าย
เขียนอธิบายหรือสรุปบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในกระบวน
การเลือกตั้งได้ แต่
ไม่สอดคล้องกับข้อมูล  เขียนตามข้อมูลที่อ่าน ไม่มีการอธิบายเพิ่มเติม


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้


                1.  ครูนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งในสถานที่             ที่เหมาะสม  ครูนำนักเรียนถวายความเคารพต่อพระบรมฉายาลักษณ์  แล้วร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ  และหน้าที่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย  โดยครูสรุปคำตอบของนักเรียนเป็นแผนภาพ
                2.  ครูนำพระราชประวัติส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมาเล่าให้นักเรียนฟัง  แล้วให้นักเรียนร่วมกันสนทนา  และสรุปความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
                3.  ครูนำภาพการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้นักเรียนดูแล้วร่วมกันสนทนา  และศึกษาหลักทศพิธราชธรรมที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้ในการปกครอง-ประเทศ  จากนั้นให้นักเรียนเสนอแนวทางการปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรม
                4.  ให้นักเรียนศึกษาพระราชกรณียกิจ แล้วเสนอแนวทางการนำพระราชกรณียกิจมา      ปรับใช้กับตนเอง  โดยครูสรุปคำตอบเป็นแผนภาพลงบนกระดาน
                5.  ครูเขียนแผนภาพอำนาจอธิปไตยลงบนกระดาน  แล้วให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น  และแบ่งกลุ่มนักเรียนศึกษาอำนาจอธิปไตย  : อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร และ   อำนาจตุลาการ  โดยครูให้แต่ละกลุ่มออกนำเสนอรายงานผลการศึกษาหน้าชั้นเรียน  และร่วมกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
                6.  สรุปความรู้เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย
                7.  ครูนำหรือเขียนแผนภูมิโครงสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยให้นักเรียนร่วมกันศึกษา  และให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
                8.  ครูอธิบายหลักการสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญให้นักเรียนฟัง  และร่วมกันแสดงความคิดเห็น
                9.  สรุปความรู้เกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย
            10.  ครูนำบทบัญญัติในกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยบทบาทหน้าที่ของพลเมืองในระบอบ-ประชาธิปไตยมาอธิบายให้นักเรียนฟังและร่วมกันแสดงความคิดเห็น
             11.  ให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นบทบาทหน้าที่พลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง โดยครูสรุปคำตอบของนักเรียนเป็นแผนภาพลงบนกระดาน
             12.  สรุปความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่พลเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง



สื่อการเรียนรู้


                1.  พระบรมฉายาลักษณ์
                2  ภาพพระราชกรณียกิจ
                3.  แผนภูมิโครงสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
                4.  ใบงาน

























    แบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-Test)


ชื่อ ______________________ นามสกุล________________ เลขที่________ ชั้น ________
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  X  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1.  การมีพระมหากษัตริย์ปกครองโดยยึดหลักทศพิธราชธรรมส่งผลต่อประเทศชาติอย่างไร
     ก.  คนในชาติมีฐานะร่ำรวย                                       ข.  เกิดความแตกแยกภายในชาติ
     ค.  เกิดความล้าหลังในการพัฒนาประเทศ             ง.  คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข

2.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารตรงกับทศพิธราชธรรม
      ในข้อใด
      ก.  ศีล                                                                            ข.  ความซื่อตรง
      ค.  ความไม่โกรธ                                                        ง.  ความยุติธรรม

3.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระจริยวัตรที่ดีงามตรงกับทศพิธราชธรรมในข้อใด
     ก.  ความอดทน                                                             ข.  การบริจาค
     ค.  ความซื่อตรง                                                            ง.  ความอ่อนโยน

4.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อสังคมไทย
     อย่างไร
     ก.  เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจทุกอย่าง                          ข.  ประชาชนเป็นผู้บริหารประเทศ
     ค.  ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตย                      ง.  มีคณะตุลาการเป็นผู้ออกกฎหมายต่างๆ

5.  นักเรียนจะปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมเรื่อง ความอ่อนโยนได้อย่างไร
      ก.  ตั้งใจเรียนหนังสือ                                                                ข.  แบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่น
      ค.  ช่วยเพื่อนทำความสะอาดห้องเรียน                 ง.  พูดจาสุภาพไพเราะกับทุกคน

6.  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรปฏิบัติตนอย่างไร ระหว่างการเลือกตั้ง
     ก.  พูดให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกตั้ง              
     ข.  ออกไปใช้สิทธิในช่วงเวลาที่กำหนด
     ค.  ศึกษาวิธีการลงคะแนนให้ถูกต้อง     
     ง.   ชักชวนชาวบ้านให้เลือกคนที่ตนเองชอบ
7.  เพราะเหตุใดจึงต้องศึกษาประวัติและผลงานของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
     ก.  เพื่อให้ได้คนที่มีฐานะดี                                        ข.  เพื่อให้ได้คนที่มีอำนาจ
     ค.  เพื่อให้ได้คนที่มีชื่อเสียง                                      ง.  เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถ

8.  หลังการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรปฏิบัติตนอย่างไร
     ก.  อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร                                       ข.  ติดตามผลงานของผู้ที่เราเลือกตั้งเข้าไป
     ค.  ไปขอรับบริจาคเงินจากผู้ที่เราลงคะแนนให้    ง.  กำหนดนโยบายให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งปฏิบัติ

9.  การออกกฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายใด
      ก.  ฝ่ายบริหาร                                                             ข.  ฝ่ายค้าน
      ค.  ฝ่ายนิติบัญญัติ                                                       ง.  ฝ่ายตุลาการ
    
10.  ฝ่ายบริหารใช้อำนาจในการดำเนินนโยบายบริหารประเทศผ่านทางใด
       ก.  ศาล                                                                         ข.  รัฐสภา
       ค.   คณะรัฐมนตรี                                                     ง.  นายกรัฐมนตรี

















แบบทดสอบหลังเรียน (Post-Test)      
ชื่อ ______________________ นามสกุล________________ เลขที่________ ชั้น ________
ให้นักเรียนเขียนเครื่องหมาย  X  ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้อง

1.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารตรงกับทศพิธราชธรรม
      ในข้อใด
      ก.  ความยุติธรรม                                                        ข.  ความซื่อตรง
      ค.  ความไม่โกรธ                                                        ง.  ศีล

2.  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระจริยวัตรที่ดีงามตรงกับทศพิธราชธรรมในข้อใด
     ก.  ความอดทน                                                             ข.  การบริจาค
     ค.  ความซื่อตรง                                                            ง.  ความอ่อนโยน

3.  การมีพระมหากษัตริย์ปกครองโดยยึดหลักทศพิธราชธรรมส่งผลต่อประเทศชาติอย่างไร
     ก.  คนในชาติมีฐานะร่ำรวย                                       ข.  เกิดความแตกแยกภายในชาติ
     ค.  คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข         ง.  เกิดความล้าหลังในการพัฒนาประเทศ   

4.  นักเรียนจะปฏิบัติตนตามหลักทศพิธราชธรรมเรื่อง ความอ่อนโยนได้อย่างไร
      ก.  ตั้งใจเรียนหนังสือ                                                                ข.  แบ่งของเล่นให้เพื่อนเล่น
      ค.  ช่วยเพื่อนทำความสะอาดห้องเรียน                 ง.  พูดจาสุภาพไพเราะกับทุกคน

5.  ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีความสำคัญต่อสังคมไทย
     อย่างไร
     ก.  ประชาชนเป็นผู้บริหารประเทศ                         ข.  ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตย            
     ค.  มีคณะตุลาการเป็นผู้ออกกฎหมายต่างๆ            ง.  เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจทุกอย่าง

6.  การออกกฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายใด
      ก.  ฝ่ายนิติบัญญัติ                                                       ข.  ฝ่ายตุลาการ
      ค.  ฝ่ายบริหาร                                                             ง.  ฝ่ายค้าน


7.  ฝ่ายบริหารใช้อำนาจในการดำเนินนโยบายบริหารประเทศผ่านทางใด
       ก.  ศาล                                                                         ข.  รัฐสภา
       ค.   คณะรัฐมนตรี                                                     ง.  นายกรัฐมนตรี

8.  เพราะเหตุใดจึงต้องศึกษาประวัติและผลงานของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
     ก.  เพื่อให้ได้คนที่มีฐานะดี                                        ข.  เพื่อให้ได้คนที่มีอำนาจ
     ค.  เพื่อให้ได้คนที่มีชื่อเสียง                                      ง.  เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามารถ

9.  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรปฏิบัติตนอย่างไร ระหว่างการเลือกตั้ง
     ก.  ชักชวนชาวบ้านให้เลือกคนที่ตนเองชอบ
     ข.  ศึกษาวิธีการลงคะแนนให้ถูกต้อง     
     ค.  ออกไปใช้สิทธิในช่วงเวลาที่กำหนด
     ง.   พูดให้ร้ายผู้สมัครรับเลือกตั้ง

10.  หลังการเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรปฏิบัติตนอย่างไร
     ก.  อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร                                       ข.  ติดตามผลงานของผู้ที่เราเลือกตั้งเข้าไป
     ค.  ไปขอรับบริจาคเงินจากผู้ที่เราลงคะแนนให้    ง.  กำหนดนโยบายให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งปฏิบัติ

















เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน  (Pre-Test)
1.     ง                                   2.     ก                                   3.    ก                                  4.    ข                                    5.  ง
6.     ง                                   7.     ง                                   8.    ข                                    9.    ค                                10.  ค

 
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน  (Post-Test)
1.     ง                                   2.     ก                                   3.    ค                                  4.    ง                                     5.  ก
6.     ก                                   7.     ค                                   8.    ง                                     9.    ก                                10.  ข

P
 
 































                                  แบบบันทึกสรุปผลการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน


ชื่อ-นามสกุล...................................... เลขที่ ............................................ ชั้น ..................................
วันที่ ................................................ เดือน ........................................................... พ.ศ. ..................
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบันทึกสรุปผลการเรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้นี้
 

























1.   ครูสามารถนำแบบบันทึกนี้ไปใช้เป็นหลักฐานและข้อมูลเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
2.   ครูสามารถนำแบบบันทึกนี้ไปใช้ประกอบการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อเป็นผลงานประกอบการเลื่อนวิทยฐานะได้
 
หมายเหตุ  ให้ครูสำเนาแบบบันทึกนี้เพื่อให้นักเรียนบันทึกทุกหน่วยการเรียนรู้